ข้อเท็จจริงของคอเลสเตอรอล ความจริงที่คุณไม่รู้ตอนที่ 2

บทความก่อนหน้านี้ เราได้ทำการเจาะลึกถึงความสำคัญของคอเลสเตอรอล และความเชื่อที่ว่าคอเลสเตอรอลเป็นตัวการสำคัญของอัตราการเสียชีวิตในผู้ที่มีความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจไปแล้ว แต่ในขณะเดียวกันหลายปัญหาที่ติดตามมาจากความเข้าใจผิดนั้น คือการที่ทุกคนเข้าใจว่าการทานยาลดคอเลสเตอรอลเป็นสิ่งที่จำเป็นในการลดความเสี่ยงการเสียชีวิต ทั้งในผู้ที่เป็นโรคหัวใจตีบตัน และผู้ที่มีความเสี่ยงแต่ยังไม่ได้เป็นโรคหัวใจ

ยาลดคอเลสเตอรอล

แม้ผลงานวิจัยภายหลังจะพบว่าคอเลสเตอรอลไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด แต่การรณรงค์ให้ลดคอเลสเตอรอลกลับรุดหน้าไปมาก ประกอบกับการโฆษณาจากบริษัทยา พร้อมกับการรับรองการใช้จากบุคลากรทางการแพทย์ งานวิจัยทางการแพทย์หลายชิ้นเกี่ยวกับยาลดคอเลสเตอรอลได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากบริษัทยาผู้มีส่วนได้เสียกับการจำหน่ายยาลดคอเลสเตอรอลโดยตรง ทั้งนี้ทั้งนั้น ความพยายามต่างๆเหล่านี้ได้ทำให้เรากลัวคอเลสเตอรอลไปโดยปริยาย มีการรณรงค์ให้งดทานไข่ มีการใช้ยาลดคอเลสเตอรอลในผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูงเป็นจำนวนมาก แม้ว่าบุคคลเหล่านั้นจะยังไม่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการเส้นเลือดตีบตันก็ตาม

กลุ่มยาลดคอเลสเตอรอลประเภทหนึ่งที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายคือกลุ่มยาสแตตินซึ่งสกัดมาจากข้าวราแดง (Red Yeast Rice) ซึ่งใช้ในประเทศจีนมาก่อน สแตตินมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งเอนไซม์ 3-Hydroxy-3-Methylglutaryl Coenzyme A Reductase(HMG – Co A Reductase) ไม่ให้สร้างคอเลสเตอรอล ขณะเดียวกันก็มีผลยับยั้งการสร้าง Coenzyme Q 10 ตามไปด้วย Coenzyme Q10 นับเป็นสารที่มีความสำคัญในการสร้างพลังงานของเซลล์  ดังนั้นนอกจากที่สแตตินจะมีผลในการลดคอเลสเตอรอลแล้ว ระดับ Coenzyme Q 10 ของเซลล์ต่างๆในร่างกายจะลดต่ำลงไปด้วย

ขณะเดียวกันมีรายงานผลข้างเคียงจากยาสแตตินมาก ได้แก่ การปวด อ่อนแรงของกล้ามเนื้อ การเกิดตับอักเสบ บางรายอาจมากถึงขั้นตับวาย การเกิดเบาหวาน การเกิดต้อกระจก (Cataracts) ปลายประสาทเสื่อม(Peripheral Neuropathy) ขี้ลืม (Dementia) ซึมเศร้า(Depressed)จะเห็นได้ว่าเมื่อใช้ยาลดคอเลสเตอรอลอาจมีภาวะแทรกซ้อนมากและหลายอย่างโดยไม่รู้ตัวเพราะมีมากจนอาจไม่ทันได้สังเกตุ และอาการเหล่านั้นไม่เกิดทันที ต้องหยุดยาแล้วจึงจะบอกได้ด้วยตัวเอง

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่ามีงานวิจัยจำนวนมากที่ได้ทำขี้นเพื่อค้นหาประสิทธิภาพของตัวยาดังกล่าว ทั้งนี้ผลที่ได้ก็มีความหลากหลายเช่นกัน เราสามารถจำแนกผลการวิจัยประสิทธิภาพของตัวยาโดยแบ่งลักษณะของงานวิจัยในผู้ป่วยได้สองกลุ่ม คือผู้ป่วยที่มีอาการของโรคหัวใจ มาก่อน และผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ

ประสิทธิภาพการใช้ยาสแตติน ในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจ

ทั้งนี้มีงานวิจัยที่ได้รวบรวมและวิเคราะห์ผลของงานวิจัยอื่นๆไว้เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับคุณสมบัติของยาสแตติน หนึ่งในงานวิจัยนี้ได้จัดทำขี้นโดยโดยมหาวิทยาลัยโตรอนโต ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัย 7 ชิ้น ที่มีผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจร่วมงานวิจัยทั้งสิ้น 42,848 คน พบว่าสแตตินช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้จริง แต่ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลันและการเกิดเส้นเลือดแตก ตัน ตีบ ในผู้ที่มีโรคหัวใจหลอดเลือดมาก่อน และพบว่าเมื่อทานยานาน 5 ปีจะลดอัตราเสี่ยงต่อการเสียชีวิตลงเพียงร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ทานยาสแตตินแต่มีโรคหัวใจอยู่แล้วก่อนหน้านี้

Credit: drmalcolmkendrick.org

 

เชื่อกันว่าการใช้สแตตินมีส่วนทำให้คอลเลสเตอรอลในเส้นเลือดลดลง จึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจวาย และหัวใจขาดเลือดลงได้ งานวิจัยโดย นายแพทย์ เดวิด นิวแมน ผู้รณรงค์ต่อต้านการใช้ยาโดยไม่จำเป็น ได้ทำวิจัยไว้เมื่อปี 2010 โดยวิเคราะห์ผลการวิจัยจากผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจและใช้สแตตินมาแล้วเป็นเวลา 5 ปีพบว่า

  • ไม่เกิดประโยชน์ใน 96% ของผู้ป่วย
  • 1.2% (1 ใน 83คน) ของผู้ป่วยอายุยืนมากขึ้น (ยังมีชีวิตอยู่หลังจากมีอาการหัวใจวาย)
  • 2.6% (1 in 39) ของผู้ป่วยสามารถลดการเกิดโรคหัวใจวายซ้ำได้
  • 0.8% (1 in 125) ของผู้ป่วยยังมีชีวิตอยู่หลังการเกิดหลอดเลือดสมองแตก/ตีบ/ตัน
  • 0.6% (1 in 167) ของผู้ป่วยมีโรคเบาหวานเกิดขี้น
  • 10% (1 in 10) ของผู้ป่วยมีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง

ประสิทธิภาพการใช้ยาสแตติน ในผู้ป่วยที่ไม่มีโรคหัวใจ แต่มีความเสี่ยง

เป็นความจริงที่ว่าการใช้สแตตินทำให้ไขมันในเส้นเลือดลดลง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจจะลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ จากการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยพบว่า

  • 98% ของผู้ที่เข้าร่วมการวิจัยไม่ได้รับประโยชน์จากการทานยาเลยหลังจากเริ่มทานสแตติน
  • 1.6% (1 ใน 60 คน) ของผู้ที่ร่วมการวิจัย สามารถลดอัตราการเกิดโรคหัวใจได้หลังจากเริ่มทานสแตติน
  • 0.4% ( ผู้ป่วย 1 ใน 268คน) ของผู้ที่เข้าร่วมการวิจัย ลดการเกิดเส้นเลือดสมองแตกหลังจากเริ่มทานสแตติน
  • 1.5% (1 in 67) ของผู้ที่เข้าร่วมการวิจัยได้มีอาการของโรคเบาหวานหลังจากเริ่มทานสแตติน
  • 10% (1 ใน 10 คน) ของผู้ที่เข้าร่วมการวิจัย มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงหลังจากเริ่มทานสแตติน

สรุป
กล่าวคือยาสแตตินไม่มีผลต่อการลดความเสี่ยงการเกิดโรคในผู้ที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคหัวใจมาก่อน ในอีกแง่หนึ่งเราสามารถกล่าวได้ว่า หากท่านเป็นผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูง แต่ไมได้มีอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือเส้นเลือดแตก ตีบ ตัน ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทานยาสแตตินเพื่อลดระดับคอเลสเตอรอล แต่หากท่านได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการเส้นเลือดหัวใจตีบการทานยาสแตตินสามารถช่วยลดความเสี่ยงการเสียชีวิตเนื่องมาจากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบให้ลดลงเพียงร้อยละ  1.8 เท่านั้น เมื่อเทียบกับการไม่ทานยา

Citation: Nutringredients.com

 

ทางเลือกอื่นในการรักษา

เรามีทางเลือกในการลดระดับคอเลสเตอรอลที่สูงโดยไม่ต้องทานยาได้โดยเริ่มที่การวิเคราะห์หาสาเหตุว่าตนเองมีโรคอื่นที่มีผลต่อระดับคอเลสเตอรอลหรือไม่ เช่น โรคไทรอย์ดทำงานต่ำ ระบบการเผาผลาญลดลง  การมีนิ่วในคอเลสเตอรอล หลังจากนั้น ปรับการทานอาหาร ลดการทานน้ำตาล อาหารคาร์โบไฮเดรต เพิ่มการทาน ผักเขียว  ผลไม้ ให้มาก  5 มื้อต่อวัน เพราะอาหารเหล่านี้ประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระจำนวนมากจึงช่วยลดการอักเสบของหลอดเลือด ทานอาหารเนื้อนมไข่ ให้พอประมาณ ลด ละเลิก ปัจจัยเสี่ยงเช่นการสูบบุหรี่ แอลกอฮอล์ เพิ่มการออกกำลัง ตรวจเลือดประเมินความเสี่ยง การอักเสบ เช่น Hs-CRP, Homocystein, Lipoprotein Aร่วมไปกับการตรวจระดับคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์ การทานอาหารเสริม เช่น กระเทียม วิตามินB3 น้ำมันปลา วิตามินเกลือแร่ ที่เหมาะสม ร่วมกับการล้างพิษตับและถุงน้ำดี มีส่วนสำคัญในการลดระดับคอเลสเตอรอลได้ นอกจากนี้ยังควรเฝ้าระวังรักษาให้อัตราสัดส่วนของคอเลสเตอรอลต่างๆให้อยู่ในระดับที่ไม่เสี่ยง ได้แก่ อัตราส่วนของ คอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol) ต่อHDL ต้องต่ำกว่า 4.2  ระดับของ LDL ต่อ HDL ต้องน้อยกว่า 2.5  และควรเลิกหรือลดการทานยาลดคอเลสเตอรอลเมื่อมีผลข้างเคียงจากยา

บทความนี้เป็นการรวบรวมจากรายงาน หนังสือ บทความต่างๆซึ่งอาจไม่ครอบคลุม ครบถ้วนกับข้อเท็จจริงที่อาจมีได้ในอนาคตยังต้องติดตามต่อไป ท่านควรติดตาม ปรึกษา การรักษากับแพทย์ของท่านอย่างใกล้ชิด

อ้างอิงจาก

Bendsen, N. T., Christensen, R., Bartels, E. M., & Astrup, A. (2011). Consumption of industrial and ruminant trans fatty acids and risk of coronary heart disease: a systematic review and meta-analysis of cohort studies. European journal of clinical nutrition, 65(7), 773-783.

Berger, S., Raman, G., Vishwanathan, R., Jacques, P. F., & Johnson, E. J. (2015). Dietary cholesterol and cardiovascular disease: a systematic review and meta-analysis. American Journal of Clinical Nutrition,102(2), 276-294. doi:10.3945/ajcn.114.100305

Dixit, S., & Das, M. (2012). Fatty Acid Composition Including Trans‐Fatty Acids in Edible Oils and Fats: Probable Intake in Indian Population. Journal of food science, 77(10), T188-T199.

Howard, W. (2007). Efficacy and safety of cholesterol-lowering treatment: prospective meta-analysis of data from 90 056 participants in 14 randomised trials of statins. Yearbook of Endocrinology,2007, 113-114. doi:10.1016/s0084-3741(08)70063-5

Murray, M. T. (2013). Cholesterol and heart health: what the drug companies won’t tell you and your doctor doesn’t know: the natural solutions that can change your life. Coquitlam, BC: Mind Publishing.

MRC/BHF heart protection study of cholesterol lowering with simvastatin in 20,536 high-risk individuals: a randomized placebo-controlled trial. (2002). ACC Current Journal Review,11(6), 34-35. doi:10.1016/s1062-1458(02)00911-x

Souza, R. J., Mente, A., Maroleanu, A., Cozma, A. I., Ha, V., Kishibe, T., . . . Anand, S. S. (2015). Intake of saturated and trans unsaturated fatty acids and risk of all cause mortality, cardiovascular disease, and type 2 diabetes: systematic review and meta-analysis of observational studies. Bmj. doi:10.1136/bmj.h3978

Thavendiranathan, P. (2006). Primary Prevention of Cardiovascular Diseases With Statin Therapy. Archives of Internal Medicine,166(21), 2307. doi:10.1001/archinte.166.21.2307

Thomas, P., & Mushtaq, S. (2013). Saturated fatty acid intake as a risk factor for cardiovascular disease in affluent, healthy Caucasian adults: a systematic review and meta-analysis. Proceedings of the Nutrition Society,72(OCE4). doi:10.1017/s0029665113002632

Statins for the primary prevention of cardiovascular disease. Cochrane Database Syst Rev. 2011 Jan 19;(1):CD004816. Review. PubMed PMID: 21249663. Sattar N, Preiss D, Murray HM, Welsh P, Buckley BM, de Craen AJ, Seshasai SR,

 

 

Leave a reply