ทางออกของอาการเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลีย

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีปัญหาอาการเหน็ดเหนื่อย อ่อนเพลีย โดยไม่ทราบสาเหตุ จู่ๆเรี่ยวแรงพลังที่เคยมีมากลับหายไปซ่ะดื้อๆ หรือแม้แต่จะลุกขี้นจากที่นอน ยังไม่มีแรง ตอนเช้าไม่อยากตื่นนอน รู้สึกเหมือนนอนหลับไม่เต็มอิ่มตลอดเวลาทั้งๆที่ก็ไม่ได้เข้านอนดึกหรือตื่นเช้าเป็นพิเศษ ง่วงหงาวหาวนอนอยู่เสมอๆ และหมดกระจิดกระใจทำอะไรต่างๆ ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล  ก็ตรวจแล้วว่าไม่พบอะไรผิดปกติ แต่ว่าคุณกลับยืนยันว่าร่างกายคุณมันฟ้องว่าไม่สามารถทำงานได้เต็มที่เหมือนเดิม หากคุณสังเกตตนเองว่าเกิดอาการเหล่านี้อยู่เป็นประจำ บางทีร่างกายของคุณอาจกำลังพยายามบอกอะไรบางอย่างให้คุณทราบอยู่ก็เป็นได้

โดยหลักแล้วแพทย์แผนปัจจุบันจะทำการวินิจฉัยดูว่าคุณมีอาการเจ็บป่วยอย่างไรโดยที่ดูตามรอยโรค นั่นคือ ปวดหัว ปวดท้อง ท้องเสีย เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้มักเป็นอาการเฉียบพลันซึ่งแพทย์แผนปัจจุบันมักจ่ายยาเพื่อบรรเทาอาการต่างๆของคนไข้  แต่สิ่งที่ขาดก็คือการวิเคราะห์ว่าสาเหตุต้นตอของอาการต่างๆ อาการเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลียด้านต้นก็เช่นกัน หลายท่านคิดอยู่เสมอว่าร่างกายเรารู้สึกไม่สดชื่น ขาดพลัง แต่ไม่พบรอยโรคที่ชัดเจน จนทำให้พาลคิดไปว่า อาจเป็นเพราะตนคิดมากไปเองก็ได้ หรืออาจไม่เชื่อร่างกายของตนเอง โดยเฉพาะหากแพทย์แจ้งว่าไม่พบสิ่งผิดปกติใดๆก็ตามจากผลตรวจสุขภาพ แต่ความจริงก็คือ ร่างกายกำลังฟ้องอยู่ว่าน่าจะมีอย่างสองอย่างที่เปลี่นแปลงไปจากเดิม

ในมุมมองของแพทย์แผนธรรมชาติบำบัดและผสมผสานแล้ว อาการเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลียกลับถูกมองว่ามีสาเหตุหลักๆมาจากการทำงานของอวัยวะบางอย่างในร่างกายที่ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ ทั้งนี้อวัยวะต่างๆทำงานโดยสัมพันธ์กันอย่างเลี่ยงไม่ได้ และอาการนี้เกิดขี้นเพราะสาเหตุหลากหลายที่สอดคล้องกัน หากท่านเป็นหนึ่งในผู้ที่มีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น ท่านสามารถสังเกตพฤติกรรมและการทำงานของร่างกายต่างๆได้ดังนี้

ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่ผลิตไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งเปรียบเหมือนเป็นฮอร์โมนช่วยปลุกร่างกายให้ทำงานในตอนเช้า ช่วยในการเผาต่อมไทรอยด์ผลาญพลังงานและทำให้ร่างกายมีพลังงานตลอดวัน ในผู้ที่มีปัญหาไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จำเป็นต้องมีการตรวจฮอร์โมนไทรอยด์ต่างๆประกอบกันไม่ว่าจะเป็น T3, T4, Free T3 และ Free T4 ซึ่งแพทย์จะทำการวินิจฉัยการทำงานต่อไป ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ที่พบจะมีอยู่สองกรณีได้แก่

Hypothyroid คือผู้ที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ ผู้ป่วยมักมีอาการบวมน้ำโดยไม่ทราบสาเหตุ รู้สึกหนาวง่าย มีอาการเย็นตามปลายมือปลายเท้า มือซึด หน้าซีด เหน็ดเหนื่อยง่าย เป็นต้น มักเกิดในผู้หญิงที่อยู่ในวัยกลางคนขี้นไป

Hyperthyroid  คือผู้ที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ ผู้ป่วยมักเป็นคนผอมผิดปกติ โดยปกติมีพลังงานเยอะ มักอยู่ไม่นิ่ง แต่พลังงานจะหมดลงได้ง่ายๆ ไม่คงที่ บางท่านจะมีอาการตาโปน หรือเห็นตาขาวได้ชัดเจน

ระบบการย่อยอาหารบกพร่อง (Indigestion) การย่อยเป็นอีกหนึ่งระบบที่มักทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเฉื่อยชาตลอดวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ระบบย่อยทำงานได้ไม่สมบูรณ์อยู่ก่อนหน้านี้แล้ว ไม่ว่าจะทานอาหารอะไรเข้าไปร่างกายจะย่อยช้า ทำให้เกิดอาการท้องอืด เฟ้อ และการย่อยอาหารรู้สึกไม่กระฉับกระเฉง หรือในบางกรณีท่านอาจมีความรู้สึกอยากของหวาน หรือ แป้ง เบเกอรี่ ขนม ต่างๆ หลังจากที่ทานไปแล้วได้พักหนึ่งร่างกายจะรู้สึกตื่นตัวดี แต่พอเวลาผ่านไปซักครึ่งชั่วโมง จะรู้สึกเหนื่อย หรือง่วงนอนมาในทันที นั้นแสดงว่าท่านกำลังมีปัญหาขาดน้ำตาลหรือ Hypoglycemia ซึ่งเป็นอาการเริ่มแรกของผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะร่างกายกำลังพยายามทำน้ำตาลนั้นออกไปใช้ในเซลล์ เมื่อเซลล์ได้รับน้ำตาล และใช้หมดไปแล้ว จะทำให้เกิดอาการเหนื่อยอ่อนแรงตามมา นอกจากนี้ปัญหาของภูมิแพ้อาหารแฝง เชื้อราในลำไส้ และลำไส้รั่ว ก็อาจส่งผลให้เกิดอาการเหนื่อยอ่อนล้าได้เช่นกัน ทั้งนี้เมื่อระบบย่อยทำงานได้ไม่เต็มที่ การปรับอาการให้เหมาะสมและฟื้นฟูระบบการย่อยจึงมีความจำเป็น โดยผู้ป่วยควรเน้นการทานผัก ผลไม้ที่ไม่หวาน และลดอาการจำพวกแป้ง น้ำตาล รวมทั้งทานอาหารแต่พอดี ให้รู้สึกประมาณ  70% ของกระเพาะ ไม่ให้รู้สึกอิ่ม แน่นจนเกินไป

การขาดวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหาร (Nutritional Deficiency)เป็นที่รู้กันดีว่าวิตามิน แร่ธาตุล้วนเป็นสารสำคัญในการช่วยให้ร่างกายสามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ หนึ่งในวิตามินที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีปัญหาเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลียคือ วิตามิน B12 ซึ่งทำหน้าที่หลักในการสร้างเม็ดเลือดแดง และกระตุ้นการทำงานของร่างกาย โดยส่วนมากแล้วเพราะพบว่ากว่าร้อยละ 80 ของผู้ที่มีปัญหาเรื่องเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลียจะขาดวิตามิน B12 อาการหลักๆที่สังเกตได้ในผู้ที่ขาดวิตามิน B12 นั่นคือ หน้าซีด มือซีด เลือดน้อย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสารประกอบอื่นๆเช่น Coenzyme Q10 ซึ่งเป็นสารประกอบสำคัญในเซลล์ทุกเซลล์ของร่างกาย ที่ช่วยเร่งการเผาผลาญ และให้พลังงานแก่ร่างกาย

อาการต่อมหมวกไตอ่อนล้า (Adrenal Fatigue) เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของอาการเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลีย โดยทั่วไปแล้วต่อมหมวกไตจะผลิต Cortisol Hormone หรือฮอร์โมนความเครียด ซึ่งถูกหลั่งออกมาเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายทำงาน โดยเฉพาะในช่วงที่มีภาวะกดดัน เช่น ช่วงเวลาสอบ หรือ การทำงานที่ใช้อ่อนเพลียความเครียดสูง นอกจากนี้ยังมีสารบางอย่างเช่น คาเฟอีนในกาแฟ ที่กระตุ้นให้ต่อมหมวกไตทำงานหนักกว่าเดิม ทั้งนี้เมื่อร่างกายเราถูกกระตุ้นให้ทำงานในภาวะที่มีความเครียดเรื่อยๆ ต่อมหมวกไตจะสร้างฮอร์โมนความเครียดขี้นไปเรื่อยๆจนกระทั่งถึงจุดหนึ่งที่ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนนี้ออกมาเพื่อกระตุ้นการทำงานให้แก่อวัยวะต่างๆได้อีกต่อไป ณ จุดนั้นเองร่างกายจะเริ่มรู้สึกเฉื่อยชา ไม่ยินดียินร้าย เหนื่อย อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้ที่มีปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการฟื้นฟูต่อมหมวกไตโดยทันที รวมทั้งปรับพฤติกรรมที่ช่วยทำให้ต่อมหมวกไตทำงานได้ดีขี้น เช่นการนอนหลับให้เพียงพอ เลี่ยงการทานกาแฟเพื่อกระตุ้นการทำงานของร่างกาย รับประทานสารอาหารที่ช่วยฟื้นฟูการทำงานของต่อมหมวกไต เป็นต้น

ผลข้างเคียงของยา หลายครั้งผู้ป่วยอาจมีปัญหาสุขภาพหลายอย่าง และจำเป็นต้องพึ่งยาเคมีหลายตัว แม้ยาจะช่วยรักษาหรือบรรเทาอาการเจ็บป่วยไปได้ แต่บางครั้งก็อาจมีผลต่อการปรับเปลี่ยนสมดุลของแร่ธาตุ และการทำงานของอวัยวะต่างๆไปด้วย เหตุนี้เองการใช้ยาแต่ละครั้ง ผู้ป่วย หรือผู้ดูแลควรที่จะทำการค้นหาคุณสมบัติ การทำงานของยาให้ชัดเจน และศึกษาผลข้างเคียงของยามีอะไรบ้าง และผู้ป่วยควรปรับพฤติกรรมอย่างไรเพื่อให้ผลข้างเคียงบรรเทาลง

นอกจากสาเหตุหลักที่กล่าวมาแล้ว ผู้ที่มีอาการเหน็ดเหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง อ่อนล้า อาจจำเป็นต้องทำการตรวจหาปัจจัยที่เกี่ยวข้ออื่นๆ โดยเน้นการสังเกตอาการของต้นเอง พร้อมๆกับการปรับพฤติกรรมการพักผ่อน รับประทานอาหาร หรือการผ่อนคลายให้แก่ร่างกายและจิตใจมากขี้น กิจกรรมบางอย่างเช่น การทำสมาธิ โยคะ ออกกำลังกาย หรือกิจกรรมสันทนาการอย่างพอควรล้วนเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย หวังว่าโพสต์นี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่มีอาการเหนื่อย หมดแรงทั้งหลาย ให้เห็นแสงสว่างอยู่ที่ปลายอุโมงค์บ้างไม่มากก็น้อยค่ะ

อ้างอิง

“Adrenal Fatigue: Is It Real?” WebMD, WebMD, www.webmd.com/a-to-z-guides/adrenal-fatigue-is-it-real#1.

B., Monica. “Excessive Tiredness And Other Interesting Effects Of Adrenal Fatigue.” View this Adrenal Fatigue page in English, 11 May 2017, www.drlam.com/blog/excessive-tiredness/2854/.

“How to Recover From Burnout by Rebalancing Your Life.” Mercola.com, articles.mercola.com/sites/articles/archive/2017/06/18/how-to-recover-from-burnout.aspx.

“Most Common Cause of Fatigue that is Missed or Misdiagnosed by Doctors.” Mercola.com, articles.mercola.com/sites/articles/archive/2009/09/05/most-common-cause-of-fatigue-that-is-missed-or-misdiagnosed-by-doctors.aspx.

Pizzorno, Joseph E., et al. The Clinician’s Handbook of Natural Medicine . Churchill Livingstone, 2016.

Pearn, John. “Chronic Ciguatera.” Journal of Chronic Fatigue Syndrome, vol. 2, no. 2-3, 1996, pp. 29–34., doi:10.1300/j092v02n02_03.

R., Stacy. “Don’t let Stage 3 Adrenal Fatigue Ruin Your Life.” View this Adrenal Fatigue page in English, www.drlam.com/articles/adrenalexhaustion.asp.

Sharpe, Michael. “Chronic fatigue syndrome (Postviral fatigue syndrome, neurasthenia, and myalgic encephalomyelitis).” Oxford Medicine Online, 2010, doi:10.1093/med/9780199204854.003.260504.

“The Causes and Ramifications of Stress-Related Burnout.” Mercola.com, articles.mercola.com/sites/articles/archive/2017/06/24/stress-related-burnout-causes-ramifications.aspx.

Leave a reply